ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 304

๗. ธาตุสูตร

ว่าด้วยเรื่องนิพพานธาตุ ๒ ประการ

[๒๒๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน

คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ

อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์

ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้

โดยชอบ ภิกษุนั้น ย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์

อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕

เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ

ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่

ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มี

สังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เวทนาทั้งปวงใน

อัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้นให้

เพลิดเพลินมิได้แล้ว จักเย็น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าอนุปาทิเสส-

นิพพานธาตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระ-

ตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่-

อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว อัน

นิพพานธาตุอย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่า

สอุปาทิเสสะ เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไป

สู่ภพ ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง)

เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งทลายโดยประการ

ทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า ชื่อว่าอนุปาทิ-

เสสะ ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง

แล้วนี้ มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา

เครื่องนำไปสู่ภพ ชนเหล่านั้นยินดีแล้วใน

นิพพานเป็นที่สิ้นกิเลส เพราะบรรลุธรรม

อันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบธาตุสูตรที่ ๗

อรรถกถาธาตุสูตร

ในธาตุสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เทฺวมา ตัดบทเป็น เทฺว อิมา. ตัณหาท่านเรียกว่า วานะ.

ชื่อว่า นิพพาน เพราะออกจากตัณหา หรือเป็นที่ไม่มีตัณหา หรือเมื่อ

บรรลุนิพพานแล้วตัณหาไม่มี. ชื่อว่า นิพพานธาตุ เพราะนิพพานนั้นชื่อว่า

ธาตุ เพราะอรรถว่า ไม่มีสัตว์ ไม่มีชีวะ และเพราะอรรถว่า เป็นสภาพทั่วไป.

แม้ผิว่า นิพพานธาตุนั้นไม่ต่างกันโดยปรมัตถ์ แต่ปรากฏโดยปริยาย

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เทฺวมา ภิกฺขเว นิพฺพานธาตุโย

ดังนี้ ทรงหมายถึงความต่างกันโดยปริยายนั้น เพื่อทรงแสดงถึงประเภทตาม

พระประสงค์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า สอุปาทิเสสา ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น ขันธบัญจกชื่อว่า อุปาทิ เพราะให้เกิดโดยความเป็น

ผลจากกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น. อุปาทิที่เหลือชื่อว่า อุปาทิเสสะ. ชื่อ

ว่า อุปาทิเสสา เพราะพร้อมกับอุปาทิเสสะ. เพราะความไม่มีสอุปาทิเสสะ

นั้น จึงชื่อว่า อนุปาทิเสสา

บทว่า อรหํ ได้แก่ ไกลจากกิเลส อธิบายว่า มีกิเลสอยู่ไกล. สมดัง

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรหํ โหติ

อารกาสฺส โหนฺติ ปาปกา อกุสลา ธมฺมา สํกิเลสิกา โปโนพฺภวิกา

สตรีา ทุกฺขวิปากา อายตึ ชาติชรามรณิยา เอวํ โข ภิกฺขเว อรหํ

โหติ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นอรหันต์ นั้นอย่างไร

ภิกษุนั้นเป็นผู้ไกลจากอกุศลธรรมอันลามก ความเศร้าหมอง การมีภพใหม่

ความกระวนกระวาย วิบากแห่งทุกข์ ชาติชรามรณะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นอรหันต์. บทว่า ขีณาสโว ความว่าชื่อว่า ขีณาสพ

เพราะอาสวะ ๔ มีกามาสวะเป็นต้น ของพระอรหันต์สิ้นแล้ว ตัดขาดแล้ว

ละได้แล้ว สงบแล้ว ไม่ควรจะเกิด ถูกไฟคือญาณเผาแล้ว. บทว่า วุสิตวา

ความว่า ชื่อว่าอยู่จบแล้ว เพราะอยู่แล้ว อยู่อาศัยแล้ว อาศัยแล้ว สะสมจรณะ

แล้วในครุสังวาสบ้าง ในอริยมรรคบ้าง ในอริยวาส ๑๐ บ้าง. บทว่า กตกร-

ณีโย ความว่า ชื่อว่าทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว เพราะพระเสกขะ ๗ ตั้งแต่

กัลยาณชนผู้เป็นปุถุชน ชื่อว่า ทำกิจที่ควรทำด้วยมรรค ๔ กิจที่ควรทำทั้งหมด

พระขีณาสพทำเสร็จ คือเสร็จสิ้นแล้ว กิจที่ควรทำเพื่อบรรลุความสิ้นทุกข์ยิ่ง

กว่านี้ไม่มี. แม้ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า

ตสฺส สมฺมา วิมุตฺตสฺส สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน

กตสฺส ปฏิจโย นตฺถิ กรณียํ น วิชฺชติ

ภิกษุผู้มีจิตสงบแล้ว พ้นแล้วโดย

ชอบนั้น กระทำเสร็จแล้ว ไม่มีการสะสม

กิจที่ควรทำไม่มี ดังนี้.

บทว่า โอหิตภาโร ได้แก่ ภาระ ๓ อย่าง คือ ขันธภาระ ๑

กิเลสภาระ ๑ อภิสังขารภาระ ๑. ภาระแม้ ๓ อย่างนี้เหล่านี้ อันภิกษุนั้น

ปลงแล้ว คือยกลงแล้ว วางแล้ว ทำให้ตกไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

โอหิตภาโร (ปลงภาระลงได้แล้ว). บทว่า อนุปฺปตฺตสทตฺโถ ได้แก่

บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว. ท่านกล่าวว่า สกตฺถํ (ประโยชน์ของตน) ก็มี.

เปลี่ยน เป็น ก. ชื่อว่า อนุปฺปตฺตสทตฺโถ เพราะประโยชน์ของตน

อันภิกษุบรรลุแล้ว. พึงทราบ พระอรหัตว่า สทฺตโถ. จริงอยู่ พระอรหัตนั้น

ชื่อว่า เป็นประโยชน์ตน เพราะเป็นประโยชน์ตน ด้วยอรรถว่าเนื่องด้วยตนด้วยอรรถว่าไม่ละตน และด้วยเป็นประโยชน์อย่างยิ่งของตน. บทว่า ปริกฺ-

ขีณภวสํโยชโน ได้แก่ ชื่อว่า สังโยชน์ในภพ เพราะสังโยชน์เหล่านั้น คือ

กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

ภวราคะ อิสสา มัจฉริยะ และอวิชชาสังโยชน์ย่อมประกอบ คือ เข้าไปผูก

สัตว์ทั้งหลายไว้ในภพ หรือภพด้วยภพ. ชื่อว่ามีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว เพราะ

สังโยชน์เหล่านั้นของพระอรหันต์สิ้นแล้ว คือท่านละได้แล้ว ถูกไฟคือญาณ

เผาแล้ว. บทว่า สมฺมทญฺญา ในบทว่า สมฺมทญฺญา วิมุตฺโต นี้ได้

แก่ เพราะรู้โดยชอบ. ข้อนี้ท่านอธิบายไว้ว่า เพราะรู้ คือ พิจารณา ไตร่

ตรอง แจ่มแจ้ง ทำให้ชัด ตามความเป็นจริงโดยชอบ ซึ่งการตั้งอยู่แห่ง

ขันธ์ทั้งหลายโดยเป็นขันธ์ แห่งอายตนะทั้งหลายโดยเป็นอายตนะ แห่งธาตุ

ทั้งหลายโดยเป็นของสูญ แห่งทุกข์โดยการบีบคั้น แห่งสมุทัยโดยเป็นที่เกิด

แห่งทุกข์ แห่งนิโรธโดยเป็นความสงบแห่งมรรคโดยเป็นทัสสนะ หรือซึ่ง

ประเภทมีอาทิอย่างนี้ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งหลายทั้งปวง

ไม่เที่ยง ดังนี้.

บทว่า วิมุตฺโต ได้แก่ วิมุตติ ๒ อย่าง คือ จิตวิมุตติ และ

นิพพาน. จริงอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่า พ้นด้วยจิตวิมุตติบ้าง ชื่อว่า พ้นใน

นิพพานบ้าง เพราะพ้นจากกิเลสทั้งปวง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า สมฺมทญฺญา วิมุตฺโต (พ้นเพราะรู้โดยชอบ).

บทว่า ตสฺส ติฏฺฐนฺเตว ปญฺจินฺทริยานิ ความว่า อินทรีย์ ๕

มีจักขุนทรีย์เป็นต้น ของพระอรหันต์นั้น ยังตั้งอยู่ตราบเท่ากรรมอันเป็นเหตุ

ให้เกิดในภพสุดท้าย ยังไม่สิ้นไป. บทว่า อวิคตตฺตา ได้แก่ เพราะยังไม่ดับ

ด้วยการดับคือความไม่เกิด. บทว่า มนาปามนาปํ ได้แก่ อารมณ์มีรูปที่น่า

พอใจ และไม่น่าพอใจเป็นต้น. บทว่า ปจฺจนุโภติ ได้แก่ ย่อมเสวย คือ

ย่อมได้. บทว่า สุขทุกฺขํ ปฏิสํเวเทติ ได้แก่ ย่อมเสวยสุขและทุกข์อัน

เป็นวิบาก คือย่อมได้ด้วยไตรทวาร.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอุปาทิเสสะ ด้วยเหตุเพียงนี้แล้ว

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตสฺส โย

ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส ได้แก่ พระอรหันต์ผู้ยังมีสอุปาทิเสสะ

นั้น. บทว่า โย ราคกฺขโย ได้แก่ ความสิ้นไป คืออาการสิ้นไป ความ

ไม่มี ความไม่เกิดในที่สุดแห่งราคะ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้. เป็นอันแสดง

ถึงสอุปาทิเสสนิพพานธาตุอันสิ้นราคะเป็นต้น ด้วยเหตุเพียงนี้.

บทว่า อิเธว ได้แก่ ในอัตภาพนี้แล. บทว่า สพฺพเวทยิตานิ

ได้แก่ เวทนาทั้งหมดมี สุขเวทนาเป็นต้น. อัพยากตเวทนา กุสลากุสลเวทนา

ท่านละได้ก่อนแล้ว. บทว่า อนภินนฺทิตานิ ได้แก่ อันกิเลสมีตัณหาเป็นต้น

ให้เพลิดเพลินไม่ได้แล้ว. บทว่า สีติภวิสฺสนฺติ ได้แก่ จักเย็น ด้วยความ

สงบส่วนเดียว ได้แก่ความสงบระงับความกระวนกระวายในสังขาร คือ จักดับ

ด้วยการดับอันไม่มีปฏิสนธิ. มิใช่เพียงเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น จักดับ แม้

ขันธ์ ๕ ทั้งหมดในสันดานของพระขีณาสพก็จักดับ. ท่านใช้เทศนาด้วยหัวข้อ

ว่า เวทยิตะ.

ในคาถาทั้งหลายพึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้. บทว่า จกฺขุมตา ได้แก่

ผู้มีจักษุด้วยจักษุทั้งหลาย ๕ คือ พุทธจักษุ ธรรมจักษุ ทิพจักษุ ปัญญาจักษุ

สมันตจักษุ. บทว่า อนิสฺสิเตน ได้แก่ ไม่อาศัยธรรมไร ๆ โดยเป็นที่อาศัย

ของตัณหาและทิฏฐิ หรือไม่ผูกพันด้วยเครื่องผูกคือราคะเป็นต้น . บทว่าตาทินา

ได้แก่ ผู้คงที่อันมีลักษณะคงที่ กล่าวคือความเป็นผู้มีสภาพเป็นหนึ่ง ใน

อารมณ์ทั้งปวง มีอิฏฐารมณ์เป็นต้น ด้วยอุเบกขามีองค์ ๖. บทว่า ทิฏฺฐ-

ธมฺมิกา ได้แก่ นิพพานธาตุอันมีคือ เป็นไปในอัตภาพนี้. บทว่า ภวเนตฺติ-

สํขยา ได้แก่ เพราะสิ้นตัณหาอันนำไปสู่ภพ. บทว่า สมฺปรายิกา ได้แก่

อันมีในเบื้องหน้า คือในส่วนอื่นจากทำลายขันธ์. บทว่า ยมฺหิ ได้แก่ ใน

อนุปาทิเสสนิพพาน. บทว่า ภวานิ ท่านกล่าวโดยเป็นลิงควิปลาส อุบัติภพ

ไม่เหลือโดยประการทั้งปวงย่อมดับ คือ ย่อมไม่เป็นไป บทว่า เต ได้แก่

ชนเหล่านั้นมีจิตพ้นแล้วอย่างนี้. บทว่า ธมฺมสาราธิคมา ได้แก่ เพราะ

เป็นผู้มีวิมุตติเป็นสาระคือเพราะบรรลุพระอรหัตอันป็นสาระในธรรมทั้งหลาย

แห่งธรรมวินัยนี้. บทว่า ขเย ได้แก่ยินดี ยินดียิ่งแล้วในนิพพานอันเป็นที่

สิ้นกิเลสมีราคะเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง อันเป็นสาระในธรรมทั้งหลาย โดย

ความเป็นของเที่ยง และโดยความเป็นของประเสริฐที่สุด เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า มีธรรมเป็นสาระ คือนิพพาน. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

วราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ วิราคะประเสริฐ

กว่าธรรมทั้งหลาย และวิราคะท่านกล่าวว่า เลิศกว่าธรรมเหล่านั้น. ชนทั้ง

หลายยินดีแล้วในอนุปาทิเสสนิพพานเป็นที่สิ้นสังขารทั้งปวง เพราะเหตุบรรลุ

ธรรมอันเป็นสาระนั้น. บทว่า ปหํสุ คือ ละแล้ว. บทว่า เต เป็นเพียง

นิบาต. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาธาตุสูตรที่ ๗


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 47

บทว่า อรหโต ได้แก่ พระขีณาสพ ได้ชื่อว่าพระอรหันต์เพราะ

เป็นผู้ไกลจากกิเลสทั้งหลาย. บทว่า อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา

ด้วยนิพพานธาตุอันเป็นอนุปาทิเสส คือนิพพานธาตุมี ๒ อย่าง เป็น

อุปาทิเสสนิพพานและอนุปาทิเสสนิพพาน.

ในบทนั้นชื่อว่า อุปาทิ เพราะยึดมั่น คือยึดถือมั่นว่า เรา ของเรา.

บทนี้เป็นชื่อของขันธ์ ๕. อุปาทิอันเหลือชื่อว่า อุปาทิเสสะ. ชื่อว่า สอุ-

ปาทิเสสะ เพราะเป็นไปกับด้วยเบญจขันธ์ที่เหลืออยู่. ชื่อว่า อนุปาทิ-

เสสะ เพราะไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่. อนุปาทิเสสะนี้. ด้วยนิพพานธาตุ

อันเป็นอนุปาทิเสสะนั้น. บทว่า นิพฺพายนฺตสฺส ได้แก่ ดับ คือเป็นไป

ไม่ได้ เหมือนไฟหมดเชื้อฉะนั้น. บทว่า จริมวิญฺญาณสฺส นิโรเธน

เพราะดับวิญญาณดวงสุดท้าย คือเพราะดับลมหายใจเข้าออกในเบญจขันธ์

นี้.

จริมะ (สุดท้าย) มี ๓ คือ ภวจริมะ, ฌานจริมะ, จุติจริมะ.

ในบรรดาภพทั้งหลาย ลมหายใจเข้าออกย่อมเป็นไปในกามภพ ไม่เป็น

ไปในรูปภพและอรูปภพ ฉะนั้น ลมอัสสาสปัสสาสะ นั้น จึงชื่อว่า

ภวจริมะ. ในฌานทั้งหลาย ลมหายใจเข้าออกย่อมเป็นไปใน ๓ ฌานต้น

ไม่เป็นไปในฌานที่ ๔ เพราะฉะนั้น ลมอัสสาสปัสสาสะจึงชื่อว่า ฌาน-

ภวจริมะ. อนึ่ง ธรรมเหล่าใดเกิดพร้อมกับจิตที่ ๑๖ ก่อนหน้าจุติจิต ธรรม

เหล่านั้นย่อมดับไปพร้อมกับจุติจิต นี้ชื่อว่า จุติจริมะ. จุติจริมะนี้ประสงค์

เอาว่า จริมะ ในที่นี้. พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวก

ทั้งหลาย โดยที่สุดแม้แต่มดดำมดแดงทั้งหมด ย่อมกระทำกาละด้วย

ภวังคจิตนั่นแหละ อันเป็นอัพยากฤต เป็นทุกขสัจเหมือนกันหมด.

เพราะฉะนั้น คำว่า จริมวิญฺญาณสฺส นิโรเธน เพราะดับวิญญาณดวง

สุดท้าย จึงหมายถึงเพราะดับจุติจิต.

พึงกำหนดเอาอรูปขันธ์ ๔ ด้วยบทเหล่านี้ คือ ปญฺญา จ สติ

จ นามญฺจ ปัญญา สติ และนาม. พึงกำหนดเอามหาภูตรูป ๔ และ

อุปาทายรูป ๒๔ ด้วยบทนี้ว่า รูปญฺจ ดังนี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงอุบายการดับนามรูป

นั้น จึงตรัสว่า เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนี้จึงดับ ณ ที่นี้.

บทเหล่านั้น บทว่า วิญฺญาณํ ได้แก่ จริมวิญญาณบ้าง อภิสังขาร-

วิญญาณบ้าง. เพราะละและดับอภิสังขารวิญญาณ นามและรูปนี้จึงดับ

ณ ที่นี้ ย่อมถึงความไม่มีบัญญัติดุจเปลวประทีปฉะนั้น. เพราะความที่จริม-

วิญญาณเป็นปัจจัยแห่งความไม่เกิด นามและรูปจึงดับไปด้วยอำนาจความ

ไม่เกิดขึ้น ด้วยความดับ คือความไม่เกิด (แห่งจริมวิญญาณ).


ปรินิพพานญาณนิทเทส

[๒๒๖] ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลส และ

ขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็นปรินิพพานญาณอย่างไร ?

สัมปชานบุคคลในศาสนานี้ ย่อมยังความเป็นไปแห่งกามฉันทะ

ให้สิ้นไป ด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ แห่งความพยาบาท ให้สิ้นไป ด้วย

ความไม่พยาบาท ฯลฯ แห่งถีนมิทธะให้สิ้นไป ด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯ

แห่งอุทธัจจะให้สิ้นไป ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ แห่งวิจิกิจฉาให้สิ้นไป

ด้วยการกำหนดธรรม ฯลฯ แห่งอวิชชาให้สิ้นไป ด้วยญาณ ฯลฯ

แห่งความไม่ยินดี ด้วยความปราโมทย์ ยังความเป็นไปแห่งนิวรณ์ให้สิ้น

ไป ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ยังความเป็นไปแห่งกิเลสทั้งปวงให้ในรูป ด้วย

อรหัตมรรค.

อีกประการหนึ่ง ความเป็นไปแห่งตานี้แล ของสัมปชาน

บุคคลผู้นิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความ

เป็นไปแห่งตาอื่นย่อมไม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งหู ฯลฯ ความเป็นไป

แห่งจมูก ฯล ฯ ความเป็นไปแห่งลิ้น ฯลฯ ความเป็นไปแห่งกาย ฯลฯ ความ

เป็นไปแห่งใจนี้แล ของสัมปชานบุคคลผู้นิพพาน ด้วยอนุปาทิเสส

นิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งใจอื่นย่อมไม่เกิดขึ้น

ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ ของสัมปชาน

บุคคลนี้เป็นปรินิพพานญาณ.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสิ้นไปแห่ง

ความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็นปรินิพพาน.

๓๕. อรรถกถาปรินิพพานญาณนิทเทส

[๒๒๖]พึงทราบวินิจฉัยในปรินิพพานญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.

บทว่า อิธ คือในศาสนานี้. บทว่า สมฺปชาโน - ผู้รู้สึกตัว ความว่า

ผู้รู้สึกตัวด้วย สัมปชัญญะ ๔ เหล่านี้ คือ

สาตถกสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในกิจที่ประโยชน์แก่ตัว ๑

สัปปายสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในปัจจัยที่สบาย ๑

โคจรสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในธรรมอันเป็นโคจร ๑

อสัมโมหสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในความไม่หลงงมงาย ๑.

บทว่า ปวตฺตํ - ยังความเป็นไป คือ ความเป็นไปแห่งปริยุฏ-

ฐานกิเลส และความเป็นไปแห่งอนุสัยกิเลส ตามสมควรในที่ทั้งปวง

บทว่า ปริยาทิยติ - ให้สิ้นไป คือ ทำให้เป็นไปไม่ได้ ด้วย

สามารถแห่งวิกขัมภนปหานในธรรมทั้งหลายที่ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่ง

อุปจารและวิปัสสนา. ด้วยสามารถแห่งตทังคปหานในธรรมทั้งหลาย

ที่ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา. ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทปหาน

ในธรรมทั้งหลายที่ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งมรรค. จริงอยู่ ท่านย่อ

ฌานสมาบัติมีทุติยฌานเป็นต้น มหาวิปัสสนา และมรรค ไว้ด้วย

หัวข้อไปยาล. เพราะญาณอันเป็นไปแล้วแก่ผู้พิจารณาญาณนั้น ชื่อว่า

ปรินิพพานญาณ. ฉะนั้น จึงเป็นอันท่านกล่าวไว้ว่า วิกฺขมฺภน-

ปรินิพฺพานํ - ปรินิพพานด้วยการข่มไว้, ตทงฺคปรินิพฺพานํ - ปริ-

นิพพานด้วยองค์แห่งธรรมนั้น, สมุจฺเฉทปรินิพฺพานํ - ปรินิพพาน

ด้วยตัดเด็ดขาด. ด้วยบทเหล่านี้ ท่านจึงกล่าวถึงปัจจเวกขณญาณใน

การดับกิเลส.

ด้วยบทมีอาทิว่า อถวา ปน - อีกประการหนึ่ง พระสารีบุตรเถระ

แสดงถึงปัจจเวกขณญาณในการดับขันธ์.

บทว่า อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา - ด้วยอนุปาทิเสส

นิพพานธาตุ ได้แก่ เพราะนิพพานธาตุ มี ๒ อย่าง คือ สอุปาทิเสส

นิพพานธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑. ในนิพพานธาตุ ๒ อย่าง

นั้น ชื่อว่า อุปาทิ เพราะอรรถว่าอันบุคคลถือมั่น คือ ยึดถืออย่าง

แรงกล้าว่า เรา ของเรา. บทว่าอุปาทินี้เป็นชื่อของขันธปัญจกะ.

ชื่อว่า อุปาทิเสสะ เพราะอรรถว่าอุปาทินั่นแหละยังเหลืออยู่.

ชื่อว่า สอุปาทิเสสะ เพราะอรรถว่าเป็นไปกับด้วยอุปาทิเสสะ

คือขันธ์ ๕ เหลืออยู่.

ชื่อว่า อนุปาทิเสสะ เพราะอรรถว่าไม่มีอุปาทิเสสะในนิพพาน

ธาตุนี้.

ท่านกล่าวถึงสอุปาทิเสสะก่อน ส่วนนิพพานธาตุนี้เป็นอนุปาทิ-

เสสะ. ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุนั้น.

บทว่า จกฺขุปวตฺตํ - ความเป็นไปแห่งตา คือ ความปรากฏเกิด

ขึ้นทางตา.

บทว่า ปริยาทิยติ ได้แก่ ย่อมสิ้นไป คือ ถูกย่ำยี. ใน

บทที่เหลือมีนัยนี้.

จบ อรรถกถาปรินิพพานญาณนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 742

ลำดับนั้น พราหมณ์และนางพราหมณีกราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาค-

เจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงรับภิกษาในเรือนของข้าพระองค์

ตลอดเวลาที่พระองค์ประทับอยู่ ณ เมืองนี้เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธ

ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิได้เสด็จไปยังที่แห่งเดียวเท่านั้นติดต่อกัน. พราหมณ์

และนางพราหมณีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ถ้าเช่นนั้น แม้พระองค์เสด็จ

บิณฑบาตกับภิกษุสงฆ์แล้วอนิมนต์เสวยภัตตาหาร ณ ที่นี้ แสดงธรรมเสร็จ

จึงกลับพระวิหารเถิดพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำตามนั้นเพื่อทรง

อนุเคราะห์พราหมณ์และนางพราหมณีนั้น. ชนทั้งหลายพากันกล่าวถึงพราหมณ์

และนางพราหมณีว่า เป็นพุทธบิดา พุทธมารดา. แม้ตระกูลนั้นก็ได้ชื่ออย่างนั้น.

พระอานนท์เถระกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระองค์รู้จัก

พระมารดาพระบิดาของพระองค์ แต่เหตุไร พราหมณ์และนางพราหมณีนี้จึง

กล่าวว่า เราเป็นพุทธบิดา เราเป็นพุทธมารดา ดังนี้เล่า พระเจ้าข้า. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ นางพราหมณีและพราหมณ์ได้เคยเป็น

มารดาบิดาของเราเป็นลำดับมาตลอด ๕๐๐ ชาติ เป็นลุงเป็นป้าของเรามา

๕๐๐ ชาติ เป็นอาเป็นน้ามา ๕๐๐ ชาติ พราหมณ์และนางพราหมณีนั้นกล่าว

ด้วยความรักในชาติก่อนนั่นเอง และได้ตรัสคาถานี้ว่า

ความรักนั้นย่อมเกิดเพราะเคยอยู่ร่วม

กันมาก่อน หรือเพราะเกื้อกูลกันในปัจจุบัน

เหมือนดอกบัวเกิดในน้ำ ฉะนั้น.

แต่นั้นมา พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ตามความพอพระทัย ณ เมือง

สาเกต แล้วเสด็จจาริกไปอีก ได้เสด็จกลับกรุงสาวัตถี. พราหมณ์และนาง

พราหมณีเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย ฟังธรรมเทศนาอันเหมาะสมแล้วบรรลุมรรค

ที่เหลือ นิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. ในเมือง พวกพราหมณ์ประชุม

ปรึกษากันว่า เราจักสักการะญาติของพวกเรา. พวกอุบาสกและอุบาสิกาที่เป็น

โสดาบัน สกทาคามี และอนาคามี ต่างก็ประชุมปรึกษากันว่า พวกเราจักสักการะ

เพื่อนร่วมปฏิบัติธรรมของพวกเรา. ชนทั้งหมดเหล่านั้นจึงยกเรือนยอดดาดด้วย

ผ้ากัมพล บูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น ออกจากเมืองไป.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ในวันนั้นตอนเช้าก็ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธ-

จักษุ ทรงทราบว่า พราหมณ์และนางพราหมณีนิพพาน ทรงทราบต่อไปว่า

เมื่อเราไป ณ ที่นั้น ชนเป็นอันมากจักบรรลุธรรม เพราะฟังธรรมเทศนา ทรง

ถือบาตรและจีวรเสด็จมาจากกรุงสาวัตถี เสด็จเข้าไปยังป่าช้า. พวกชนเห็นแล้ว

ได้ยืนประชุมกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะทำฌาปนกิจมารดาบิดา

จึงเสด็จมา. แม้ชาวเมืองก็พากันบูชาเรือนยอด พากันมาป่าช้า กราบทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อริยสาวกที่เป็นคฤหัสถ์จะพึงบูชาอย่างไร. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความเป็นอเสกขมุนีของอริยสาวกผู้เป็นคฤหัสถ์

เหล่านั้นโดยพระประสงค์ว่า ควรบูชาอริยสาวกผู้เป็นคฤหัสถ์เหล่านี้เหมือนบูชา

พระอเสกขะ จึงตรัสคาถานี้ว่า

มุนีเหล่าใดเป็นผู้ไม่เบียดเบียนสำรวม

กายอยู่เป็นนิจ มุนีเหล่านั้นไปในที่ที่สัตว์

ทั้งหลายไปแล้วไม่ตาย ไม่พึงเศร้าโศก.